แกงจืด

แกงจืด ประโยชน์ที่ใครหลายคนยังไม่รู้ !!

แกงจืด ประโยชน์ที่ใครหลายคนยังไม่รู้ !!

แกงจืด ประโยชน์ที่ใครหลายคนยังไม่รู้ ซึ่งสำหรับในโลกยุคดิจิตอลที่ไลฟ์สไตล์ของทั้งลูก และ พ่อแม่ต่างไม่มีเวลา เด็กลืมตามาก็อยู่หน้า ไอโฟน ไอแพด หรือ แท็บเล็ต ส่วนพ่อแม่ก็ไม่มีเวลาดูแล ส่งผลเรื่องอาหารการกินของเด็กๆ ถูกละเลย มักจะมองหาอาหารที่หยิบรับประทานง่ายอย่าง “อาหารขยะ” พวกขนมกรุบกรอบ หรือฟาสต์ฟูด ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารน้อย อย่างไรก็ตามยังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจด้านอาหารการกิน ดูแลทำอาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัยอย่าง เมนูแกงจืด เป็นเมนูที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เชื่อกันว่าซุปเป็นแหล่งเสริมสารอาหารที่ดี คนไทยและคนเอเชียได้คิดค้นการปรุงเมนูแกงจืดหรือซุปที่หลากหลาย รวมถึงอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวและเมนูอื่น ๆอีกมากมาย

โภชนาการที่ดีมีคุณประโยชน์ต่อเด็ก ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ยุคดิจิตอลไม่ควรปล่อยปละละเลย  คุณแม่ยุคใหม่ที่ไม่มีเวลามากนักในการทำอาหาร เพราะต้องรับบทหนักงานนอกบ้าน ทำให้อาหารการกินของเด็กๆน่าเป็นห่วง อาหารที่คุณแม่ทำอยู่เป็นประจำอาจจะไม่อร่อยและไม่มีคุณค่าเท่าที่ควร

เพราะด้วยเวลาที่จำกัดทำให้ไม่มีเวลาใส่ใจ  วันนี้เราจึงขอแนะนำเมนูที่ดีอย่างแกงจืดลูกชิ้นกุ้ง ซึ่งน้ำซุปที่ดีควรเคี่ยวนานประมาณ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รสชาติและมีโปรตีนขนาดเล็ก และกรดอะมิโนอิสระออกมาจากกระดูกอยู่ในน้ำซุป ซึ่งเชื่อว่าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น แล้วจึงเติมเนื้อสัตว์ และผักลงไปสุดท้าย ต้มพอสุกนิ่ม เพื่อรักษาวิตามิน

เพราะการต้มผักเป็นเวลานานอาจจะทำให้สูญเสียวิตามินได้โดยเฉพาะเด็กในยามป่วย ในช่วงเข้าหน้าฝนนี้ เด็กอาจไม่เจริญอาหาร จึงเป็นอาหารอ่อนที่เหมาะมาก เพราะมีการปรุงให้นุ่ม ยุ่ย กลืนและเคี้ยวง่าย จะทำให้เด็กเจริญอาหารมากขึ้น ได้รับสารอาหารที่จำเป็น

และ สามารถหัดให้เด็กกินผักบางชนิดได้ โดยใส่ผสมไปกับการปรุง สำหรับผักที่เคี้ยวยากก็จะนุ่มลง ความขมหายไป ทำให้ได้รับโปรตีน วิตามิน และไฟเบอร์จากผักต่างๆ สารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ และพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก

แต่ถ้าคุณแม่ยุคใหม่ไม่มีเวลามากขนาดนั้นก็ต้องหาตัวช่วยที่ทำจากธรรมชาติ และให้คุณค่าเท่ากับการเคี่ยว 8 ชั่วโมง แค่นี้คุณแม่ก็สามารถทำอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อร่อยถูกปากคุณลูก เช่นแกงจืดรสชาติอร่อยกลมกล่อมได้แล้ว

แกงจืด

ส่วนผสม แกงจืด ลูกชิ้นกุ้ง

ลูกชิ้นกุ้ง

ต้นหอม

ผักชี

ผักกาดขาว

กระเทียมเจียว

ซุปก้อนคนอร์

น้ำตาล

เกลือ

น้ำเปล่า

วิธีทำเมนูแกงจืดลูกชิ้นกุ้ง

ขั้นตอนแรกเทน้ำใส่หม้อรอจนเดือดในผักกาดที่หั่นพอดีคำ รอสักพักให้ผักกาดสุกแล้วใส่ลูกชิ้นกุ้ง และเต้าหู้ ต่อจากนี้ก็คือการปรุงรสชาติ ด้วย เกลือ น้ำตาล ซุปก้อนคนอร์ กระเทียมเจียว ชิมรสชาติ ก่อนจะปิดไฟให้ใส่ ต้นหอม และผักชีหั่น แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับเมนู ต้มจืดลูกชิ้นกุ้ง ในวันนี้ น่าทานไหมคะ เป็นเมนูง่ายๆที่สามารถทำทานเองได้ง่ายๆ แม่บ้านมือใหม่ก็สามารถทำทานเองได้ง่ายได้เลย

เครดิตเว็บไซต์ : ufarich777

อ่านวิธีทำอาหารอื่นๆ ติดตามได้ที่ : lot-10

ข้าวผัด

ข้าวผัด ทำไมถึงต้องใช้ข้าวเย็นๆ ในการทำถึงจะอร่อย?

ข้าวผัด ทำไมถึงต้องใช้ข้าวเย็นๆ ในการทำถึงจะอร่อย?

ข้าวผัด รู้หรือไม่ว่าทำไม? ถึงต้องใช้ข้าวสวยเย็น ๆ ในการทำจึงจะอร่อย ให้ท่านลองสังเกตข้าวสวยที่เราตักจากขึ้นหม้อ จะเห็นว่าข้าวจะมีความนุ่ม และ มีควันออกมาจากความร้อนในข้าว ซึ่งข้าวที่เพิ่งหุงเสร็จใหม่ ๆ นี้เหมาะที่จะกินเป็นข้าวสวยคู่อาหารมาก ๆ เพราะกำลังร้อน ๆ นุ่ม และ หอมที่สุด

นี่แหละ! คือเหตุผลที่ไม่ควรใช้ข้าวสวยร้อนๆ ไปทำ “ข้าวผัดทั่วไป” เพราะข้าวผัดควรจะมีเม็ดข้าวที่ร่วน ไม่เละ ไม่จับเป็นก้อน
การใช้ข้าวสวยร้อน ๆ ไปทำข้าวผัดอาจจะได้ข้าวผัดที่แฉะหรือเละได้ ยิ่งถ้าเผลอผัดนานเกินก็ทำให้ข้าวไม่เป็นเม็ดสวยเหมือนเดิม พลอยให้รู้สึกไม่น่ากินไปเสียอย่างนั้น

การใช้ข้าวสวยเย็น ๆ จึงเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่อยากทำ “ข้าวผัดทั่วไป” ให้ได้เม็ดข้าวที่ร่วน สวยเต็มเม็ด ไม่แฉะ ไม่จับเป็นก้อน เพราะมีความชื้นในเม็ดข้าวน้อย ข้าวไม่นุ่มจนเกินไป ทำให้เวลาผัดไม่โดนตะหลิวบดจนเละ สามารถผัดข้าวได้ง่ายขึ้น!

ข้าวผัด

การเลือกใช้ข้าวสำหรับในการทำ ข้าวผัด

นอกจากการเลือกใช้ข้าวเย็นในการทำข้าวผัดแล้ว ยังมีทริค และ ข้อควรระวังในการผัดข้าวอีก คือ ไม่ควรผัดนานเกิน และ ไม่ควรใช้ตะหลิวบดบี้เม็ดข้าว ยังมีเรื่องของการปรุงรส และ การใช้ไฟ ที่จะต้องมีจังหวะไฟแรง-ไฟอ่อนอีกด้วย

แม้ข้าวผัดจะมีคนเรียกชื่อเล่น ๆ อีกอย่างว่าเมนูสิ้นคิด เพราะเป็นเหมือนเมนูล้างตู้เย็นที่เปิดเจออะไรก็เอามาใส่ผักได้เกือบหมด

แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเมนูยอดนิยมที่ทำได้ง่าย ได้ปรุงรสตามใจชอบ และ มีความอิสระในการทำมาก ๆ แบบที่เรียกได้ว่าชอบรสไหนก็ปรุง ชอบเนื้ออะไรก็ใส่ ไม่ว่าจะหมู ไก่ กุ้ง หรือไส้กรอก

รู้หรือไม่? ข้าวผัดอาหารธรรมดาสามารถทำได้จากข้าวสุกข้ามวัน

นอกจากนี้ยังเป็นการลด Food Waste อีกด้วย โดยสามารถใช้ข้าวสวยที่เหลือจากมื้อก่อน ๆ มาทำได้ ใครที่เวลามีข้าวเหลือแล้วชอบเอาไปทิ้ง หรือเอาไปทำแต่ข้าวต้ม ก็ลองเอามาทำ “ข้าวผัดทั่วไป” ดูได้นะ

สำหรับเมนู ข้าวผัดทั่วไป ข้าวธรรมขอแนะนำ “ข้าวหอมมะลิ (กลางปี)” ถุงสีชมพูถุงนี้เลย!
ข้าวหอมมะลิ 100% หอมแต่ไม่นุ่มเกินไป สามารถทำข้าวผัดได้ ข้าวสวยเต็มเม็ด!

เครดิตเว็บไซต์ : ufarich777

อ่านวิธีทำอาหารอื่นๆ ติดตามได้ที่ : lot-10

ทานอาหารมื้อดึก

ทานอาหารมื้อดึก กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณหยุดทาน

ทานอาหารมื้อดึก กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณหยุดทาน

ทานอาหารมื้อดึก กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณหยุดทาน ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่ ชอบทานอาหารตอนกลางคืน โดยเฉพาะบรรดา ขนมจุบจิบ ทั้งหลาย แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย ถ้าคุณหยุดทานอาหารตอนกลางคืนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่านั้น ? คุณจะได้สัมผัสกับความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเอง ถ้าคุณหยุดทานอาหารก่อนเข้านอนประมาณ 4-5 ชั่วโมง คุณจะมีสุขภาพโดยรวมที่ดี สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณมีดังนี้

น้ำตาลในเลือดมีความเสถียรมากขึ้น

เมื่อคุณไม่ทานอาหารแปรรูป หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูงก่อนนอน คุณจะมีระดับของน้ำตาลในเลือดที่เสถียรมากขึ้นในขณะที่นอน รวมถึงหลีกเลี่ยงการมีน้ำตาลพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมันสามารถทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้น และแน่นอนว่ามันจะทำให้คุณตื่นเช้ามาพร้อมกับความรู้สึกไม่สดชื่นอย่างที่ควรจะเป็น

ทานอาหารมื้อดึก

ทานอาหารมื้อดึก จะรู้สึกดีตอนตื่นนอน

ถ้าคุณหยุดทานอาหารมื้อดึก คุณอาจรู้สึกได้ถึงความแตกต่างในเช้าวันถัดมา ซึ่งมันจะยิ่งเป็นความจริงหากอาหารที่คุณทานมีรสหวาน หรือมีความมันสูง เพราะอาหารเหล่านี้สามารถทำให้คุณรู้สึกบวม หรือแน่นท้องในตอนเช้า การหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าวอาจช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัว ทำให้คุณเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยความสดใส

นอนหลับได้ดีขึ้น

ระบบย่อยอาหารจะทำงานได้ไม่ดีในตอนกลางคืน ดังนั้นการทานอาหารแบบจัดเต็มตอนเย็น หรือช่วงกลางดึกจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักเกินไป โดยเฉพาะบรรดาอาหารดิบที่จะย่อยยากเป็นพิเศษในตอนกลางคืน ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด และทำให้คุณนอนแบบกระสับกระส่าย หรือนอนหลับได้ยากขึ้น ซึ่งมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า การนอนไม่เพียงพอสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มในระยะยาว

กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

ฮอร์โมนบางชนิดจะถูกหลั่งออกมาตอนเย็นและตอนกลางคืน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้คุณง่วงนอน และฮอร์โมนโซมาโตโทรปิน หรือที่รู้จักกันในชื่อของโกรทฮอร์โมน ซึ่งมีส่วนช่วยให้มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ การหลั่งฮอร์โมนโซมาโตโทรปินจะเพิ่มขึ้นถ้าคุณไม่ได้ทานอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรงดทานอาหารว่างหลังมื้อเย็น เพื่อให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาได้เต็มที่

ลดการอักเสบ

Courtney Peterson ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ Pennington Biomedical Research Center กล่าวว่า การอดอาหารเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และ ลดการอักเสบในร่างกายถือเป็นเรื่อง ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นหมายความว่า การงดของว่างในช่วงกลางคืนจะช่วยให้ร่างกายได้มีเวลาสำหรับฟื้นฟูตัวเอง

ทานอาหารมื้อดึกจะมีระดับของความหิวที่เสถียรในวันถัดมา

Michelle Pellizzon นักโภชนาการ ได้อธิบายว่า การไม่ทานอาหาร ก่อนเข้านอน จะช่วยลด เกรลิน ซึ่งเป็น ฮอร์โมน ที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกหิว ทำให้ร่างกาย สามารถควบคุม ความรู้สึกหิวกระหายได้ดีขึ้นในวันถัดมา ซึ่งแน่นอนว่า มันจะเป็นผลดีต่อน้ำหนักของคุณเอง

เครดิตเว็บไซต์ : ufarich777

อ่านวิธีทำอาหารอื่นๆ ติดตามได้ที่ : lot-10

ลอดช่องไทย ขนมพื้นบ้านที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ทำทานเองได้ไม่ยาก

ลอดช่องไทย ขนมพื้นบ้านที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ทำทานเองได้ไม่ยาก

ลอดช่องไทย หากนึกถึงของหวานที่คุ้นเคยและหาทานได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็หาทานได้ไม่ยาก หนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้น ลอดช่องไทย ต้องบอกว่าขนมไทยหรือของหวานไทยชนิดนี้หาทานได้ง่ายมาก ใครที่ไปเดินตลาดก็จะเห็นว่าตามร้านขายขนมหวานมักจะมีเมนูลอดช่องอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามลอดช่องแต่ละเจ้าอาจแตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่ชอบทานของหวานที่ให้ความสดชื่น ดูเหมือนว่าขนมชนิดนี้น่าจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว 

เรามาทำความรู้จักกับ ประวัติ ลอดช่องไทยโบราณ กันก่อนดีกว่า โดยขนมชนิดนี้จัดเป็นขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบหลัก นับเป็นของหวานที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม่ได้มีแค่ ลอดช่อง ไทย เท่านั้น แต่ยังมีลอดช่องจากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเชื่อกันว่าต้นกำเนิดคือประเทศอินโดนีเซีย และในบางครั้ง ลอดช่องไทยโบราณ ก็อาจถูกเรียกว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” เพราะมาจากชื่อร้านสิงคโปร์โภชนาในเยาวราช กรุงเทพ ฯ นั่นเอง 

ลอดช่องไทย

ลอดช่องไทย เผยสูตร ขนมที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบหลัก

อากาศร้อน ๆ แบบเมืองไทย ถ้าได้ทานของหวานที่ให้ความรู้สึกสดชื่นก็คงจะดีไม่น้อย สำหรับใครที่อยากจะเคี้ยวแป้งนุ่ม ๆ พร้อมซดน้ำกะทิอันหอมหวานในเวลาเดียวกัน เมนูขนมหวานอย่างลอดช่องไทย ก็น่าจะตอบโจทย์ได้ดีเลยทีเดียว และวันนี้เราก็มีสูตรการทำ ลอดช่องเหนียวนุ่ม มาฝากทุกคนด้วย บอกเลยว่าเมนูนี้ทำได้ไม่ยาก สำหรับใครที่ชอบทาน ขนมไทย แบบเสิร์ฟพร้อมกับน้ำกะทิก็ไม่ควรพลาด ไปดูกันว่ามีส่วนผสมมากน้อยแค่ไหน และมีวิธีทำยังไงบ้าง

วัตถุดิบสำหรับทำ ลอดช่อง ไทย

ส่วนผสมลอดช่องสีเขียว

  1. แป้งข้าวเจ้า 70 กรัม
  2. แป้งมัน 25 กรัม
  3. แป้งถั่วเขียว 25 กรัม
  4. น้ำปูนใสใบเตย 500 กรัม

ส่วนผสมลอดช่องสีขาว

  1. แป้งข้าวเจ้า 70 กรัม
  2. แป้งมัน 25 กรัม
  3. แป้งถั่วเขียว 25 กรัม
  4. น้ำปูนใส 500 กรัม

ส่วนผสมน้ำกะทิ

  1. หัวกะทิ 450 กรัม
  2. น้ำตาลมะพร้าว 150 กรัม
  3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  4. น้ำปูนใส 500 กรัม 

วิธีการทำ ลอดช่องไทยน้ำกะทิ

  1. ขั้นตอนแรกเตรียมทำตัวลอดช่อง โดยเริ่มทำตัวลอดช่องสีเขียวก่อน ใส่แป้งข้าวเจ้าลงในถ้วยผสม ตามด้วยแป้งมัน แป้งถั่วเขียว และน้ำปูนใสใบเตย จากนั้นคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
  2. ตั้งกระทะแล้วนำส่วนผสมที่ได้ลงไปกวนด้วยไฟอ่อน ในระหว่างนี้ค่อย ๆ คนช้า ๆ เมื่อส่วนผสมเริ่มจับตัวให้เพิ่มความเร็วในการกวนมากขึ้น และถ้าเห็นว่าตัวลอดช่องเริ่มมีเงาใสแล้วก็ให้ปิดแก๊สได้เลย
  3. นำลอดช่องที่ได้เทลงในตัวบีบลอดช่อง โดยให้เตรียมน้ำเย็นจัดไว้ 1 ถ้วย จากนั้นบีบลอดช่องลงไปในถ้วยที่มีน้ำเย็นจัด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที จนกว่าตัวลอดช่องจะคลายความร้อน
  4. เมื่อลอดช่องเริ่มคลายความร้อนแล้วให้ตักขึ้นและสะเด็ดน้ำ ขั้นตอนต่อมาเตรียมทำตัวลอดช่องสีขาว โดยสัดส่วนและวิธีการทำจะเหมือนกับตัวลอดช่องสีเขียว แต่จะเปลี่ยนจากน้ำปูนใสใบเตยเป็นน้ำปูนใสธรรมดา 
  5. เตรียมทำน้ำกะทิลอดช่อง โดยตั้งกระทะแล้วใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไป ตามด้วยเกลือป่น และหัวกะทิ ใช้ไฟกลางในการเคี่ยวจนกว่าน้ำตาลจะละลาย เมื่อน้ำกะทิเริ่มเดือดแล้วให้ปิดแก๊ส จากนั้นเทใส่ถ้วย พักไว้
  6. ตักลอดช่องทั้งสองสีใส่ในถ้วยเสิร์ฟ ราดด้วยน้ำกะทิ ถือเป็นอันเสร็จพร้อมรับประทาน โดยจะทานคู่กับน้ำแข็งและเครื่องเคียงอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบ

ลอดช่องไทยวิธีการทำน้ำปูนใสใบเตยสำหรับตัวลอดช่องไทย

อย่างที่เราบอกไปแล้วว่าตัวลอดช่องสีเขียวนั้นจะใช้ส่วนผสมทั้งหมด 4 อย่าง ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งถั่วเขียว และน้ำปูนใสใบเตย ซึ่งจะคล้ายกับตัวลอดช่องสีขาว แต่ต่างกันตรงที่ ขนมลอดช่อง สีขาวจะใช้น้ำปูนใสแบบธรรมดา สำหรับน้ำปูนใสใบเตยของลอดช่องไทย สีเขียวนั้นจะได้จากใบเตย 10 ใบ โดยนำมาหั่นซอยให้ละเอียดและนำไปปั่นกับน้ำปูนใส 500 กรัม เมื่อปั่นจนละเอียดแล้วให้คั้นน้ำออกมาก็จะได้น้ำปูนใสใบเตยสำหรับการทำ ของหวานไทย อย่างตัวลอดช่องสีเขียว

ลักษณะของลอดช่อง ที่แตกต่างจากลอดช่องสิงคโปร์

สำหรับ ลอดช่อง สูตรโบราณ ของไทยนั้นจะใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก แต่ก็มีบางสูตรที่นำแป้งท้าวยายม่อมผสมเข้าไปด้วย ส่วนลอดช่องสิงคโปร์นั้น หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นของคนสิงคโปร์ แต่จริง ๆ แล้วเป็นสูตรที่มีจุดกำเนิดในประเทศไทย เนื่องจากร้านที่ขายมีชื่อว่า “สิงคโปร์โภชนา” นั่นเอง ซึ่งจะใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลัก นอกจากนี้วิธีการทำยังต่างกันกับ เมนูของหวานไทย อีกด้วย เพราะของไทยจะใช้พิมพ์หรือตัวบีบ ส่วนลอดช่องสิงคโปร์จะใช้การตัดหรือหั่นเป็นเส้นเล็ก ๆ แทน

ลอดช่องไทย ทำยังไงให้อร่อย ทานคู่กับอะไรได้บ้าง

หากจะทานแค่ ลอดช่อง กับน้ำกะทิก็คงดูธรรมดาไปหน่อย อีกทั้งอากาศร้อน ๆ แบบนี้การกินของหวานที่เย็น ๆ ก็น่าจะตอบโจทย์มากกว่า เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าการกิน ขนมไทยโบราณ อย่างลอดช่องนั้นมีอยู่หลายแบบด้วยกัน บางคนจะใส่น้ำแข็งเข้าไปด้วยเพื่อความสดชื่น นอกจากนี้ยังสามารถทานกับเครื่องเคียงอื่น ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นฟักทอง แตงไทย ลูกชิด เฉาก๊วย ข้าวโพด ข้าวเหนียวดำ และอื่น ๆ อีกมากมาย หากใครอยากทำเมนู ขนมไทย ง่ายๆ ลองเอาสูตรที่เราแนะนำไปใช้กันได้เลย

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

ท่านสามราถอ่านบทความอื่นได้ที่ lot-10

ขนมตะลุ่ม ขนมไทยโบราณทำทานง่าย แต่หาทานได้ยากในปัจจุบัน

ขนมตะลุ่ม ขนมไทยโบราณทำทานง่าย แต่หาทานได้ยากในปัจจุบัน

ขนมตะลุ่มจริง ๆ แล้วขนมไทยนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท แต่ในปัจจุบันเริ่มหาทานได้ยากแล้ว เพราะมีขายอยู่เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น โดยเฉพาะขนมไทยโบราณ เชื่อว่าเด็กรุ่นใหม่หลายคนอาจไม่รู้จักด้วยซ้ำ เนื่องจากขนมเหล่านั้นได้รับความนิยมน้อยลง และขนมบางชนิดยังมีวิธีทำค่อนข้างยาก หรือเก็บไว้ได้ไม่นาน จึงทำให้ขนมขบเคี้ยวและขนมจากต่างประเทศได้รับความนิยมแทน ฉะนั้นวันนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง นั่นคือ ขนมตะลุ่มมาดูกันว่าขนมชนิดนี้มีดีอย่างไร 

ขนมตะลุ่ม

ขนมตะลุ่ม แจกสูตร รสหวานมัน หอมฟินกลิ่นกะทิ เนื้อสัมผัสนุ่มละมุนลิ้น

ขนมตะลุ่มคือ ขนมพื้นบ้านทางภาคกลางของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจะประกอบด้วยตัวขนมและหน้าสังขยา ลักษณะคล้ายขนมถ้วย รสชาติจะออกหวานมัน โดยมีวัตถุดิบหลักอย่างแป้งชนิดต่าง ๆ กะทิและไข่เป็ด ถือเป็นหนึ่งใน ขนมไทยโบราณ ที่หาทานได้ค่อนข้างยาก จะมีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่ทำขาย ถึงแม้ว่าวิธีการทำจะไม่ยากเท่าไหร่ก็ตาม แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างจึงทำให้ขนมชนิดนี้เริ่มถูกลืม ดังนั้นเราจึงอยากให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์ ขนม ตะลุ่ม ไว้ให้อยู่นาน ๆ

หากคุณเป็นคนที่ชอบทานขนมหน้าสังขยา ขนม ตะลุ่ม ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการทำทานด้วยตัวเอง เพราะขนมชนิดนี้มีวิธีทำง่ายมาก ๆ การทำให้ตัวขนมและหน้าสังขยาสุกนั้นจะทำโดยวิธีการนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนเลย สำหรับใครที่อยากทาน เมนูขนมไทยโบราณ อย่างขนมตะลุ่ม ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะหาทานได้ยาก เพราะคุณเองก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน มาดูกันเลยว่า สูตรขนมตะลุ่ม ต่อไปนี้จะทำง่ายแค่ไหน 

วัตถุดิบและส่วนผสม ขนมตะลุ่มโบราณ

  1. แป้งข้าวเจ้า 140 กรัม
  2. แป้งมันสำปะหลัง 15 กรัม
  3. แป้งเท้ายายม่อม 15 กรัม
  4. เกลือ 1/2 ช้อนชา
  5. หางกะทิ 170 มิลลิลิตร
  6. น้ำปูนใส 15 มิลลิลิตร
  7. น้ำลอยดอกมะลิ 335 มิลลิลิตร

ส่วนผสมหน้าสังขยา

  1. ไข่เป็ด 3 ฟอง
  2. น้ำตาลปี๊บ 180 กรัม
  3. หัวกะทิ 130 มิลลิลิตร
  4. ใบเตยหั่นท่อน 2 ใบ

วิธีทำขนมตะลุ่ม

  1. เริ่มต้นด้วยการทำตัวขนม เตรียมภาชนะผสม ใส่แป้งข้าวเจ้าลงไป ตามด้วยแป้งมันสำปะหลัง แป้งเท้ายายม่อม เกลือและหางกะทิ นวดจนเนียนแล้วใส่น้ำปูนใสลงไป จากนั้นนวดต่ออีก 15 นาที
  2. ใส่น้ำลอยดอกมะลิลงไป คนให้เข้ากันแล้วนำไปกรองใส่ถ้วย พักไว้ อุ่นถ้วยตะไลไว้เป็นเวลา 5 นาที หลังจากนั้นเปิดฝาออกแล้วตักส่วนผสมของตัวขนมที่ทำไว้ลงในถ้วยตะไลจนครบ เสร็จแล้วปิดฝานึ่งไว้ 3 นาที
  3. ขั้นตอนต่อมาเตรียมทำหน้าสังขยา เริ่มจากตอกไข่เป็ดลงในภาชนะ ใส่น้ำตาลปี๊บและใบเตยลงไป จากนั้นใช้มือขยำให้ละเอียดเข้ากัน เสร็จแล้วใส่หัวกะทิลงไป ใช้มือขยำอีกครั้งและนำไปกรองให้ได้ส่วนผสมที่เนียนละเอียด
  4. เมื่อนึ่งตัวขนมจนครบ 3 นาทีแล้ว ตักส่วนผสมหน้าสังขยาใส่ลงไปบนตัวขนมให้ครบทุกถ้วย หลังจากนั้นนึ่งต่ออีก 10 นาที เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นอันเสร็จ 

ขนมตะลุ่มและขนมถ้วย มีความแตกต่างกันอย่างไร

ขนมไทย มีให้เลือกทานหลายเมนูมาก ๆ และขนมบางเมนูก็มักจะมีหน้าตาและวิธีทำคล้ายกัน เช่นเดียวกับขนมที่ชื่อว่าตะลุ่ม หลายคนมักสงสัยว่า ขนมตะลุ่มต่างจากขนมถ้วย อย่างไร ต้องบอกว่า ขนมตะลุ่มจะมีหน้าสังขยา รสชาติหวานมัน ตัวขนมทำจากแป้งและกะทิ ส่วนหน้าขนมได้จากไข่เป็ดผสมหัวกะทิ ในขณะที่ขนมถ้วยตะไลจะมีหน้ากะทิ รสชาติหวานและเค็มอ่อน ๆ ตัวขนมทำจากแป้งและน้ำตาลมะพร้าว และหน้าขนมได้จากแป้งผสมกะทิและเกลือ ซึ่งใช้วัตถุดิบหลักตาม สูตรขนมไทย ทั่วไป 

ตะลุ่ม ขนมไทยพื้นบ้านจากภาคกลาง หาทานได้ยาก แต่ขั้นตอนการทำสุดแสนจะง่าย

จริง ๆ แล้วการ ทำขนมตะลุ่ม จะบอกว่ายากก็ยาก จะบอกว่าง่ายก็ง่าย แต่ทว่าขั้นตอนการทำนั้นไม่ค่อยซับซ้อนนัก หากใครตั้งใจทำก็ไม่น่าจะยากสักเท่าไหร่ โดย เมนูขนมไทย ชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายกับขนมถ้วยตะไล แต่หน้าขนมจะเป็นหน้าสังขยา เนื้อสัมผัสมีความเหนียวนุ่ม มีรสหวานมัน หอมกลิ่นกะทิ หากใครที่สนใจขนมตะลุ่มก็สามารถนำสูตรที่เราแนะนำไปทำตามได้เลย

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

ท่านสามราถอ่านบทความอื่นได้ที่ lot-10

ข้าวแต๋น ทำกินเองง่าย ๆ ข้าวเหนียวกรุบกรอบ เคี้ยวแล้วอร่อยเพลิน

ข้าวแต๋น ทำกินเองง่าย ๆ ข้าวเหนียวกรุบกรอบ เคี้ยวแล้วอร่อยเพลิน

ข้าวแต๋นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขนมไทยมีอยู่หลากหลายชนิดมาก ๆ นอกจากขนมที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว ยังมีขนมพื้นบ้านจากภาคต่าง ๆ อีกด้วย ทำให้เมนูขนมไทยมีอยู่มากมาย ขนมบางชนิดเริ่มสูญหายหรือพบเจอได้ยาก แต่ก็ยังมีขนมหลายชนิดที่ได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ หากกล่าวถึงขนมพื้นบ้านของทางภาคเหนือ เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และขนมที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ก็คือ ข้าวแต๋นเรียกได้ว่าเป็นขนมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาของชาวพื้นเมืองได้ดีเลยทีเดียว 

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยทาน ขนมไทยโบราณ ชนิดนี้กันมาแล้ว เพราะถือเป็นขนมที่หาทานได้ง่ายมาก ๆ นั่นเป็นเพราะว่ามีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก แถมยังใช้วัตถุดิบไม่เยอะมากอีกด้วย อย่างไรก็ตามบางคนอาจยังไม่ทราบเกี่ยวกับ ข้าวแต๋นประวัติ ความเป็นมา จริง ๆ แล้วขนมชนิดนี้เกิดจากการถนอมอาหารของชาวพื้นเมืองภาคเหนือ โดยนำข้าวเหนียวที่เหลืออยู่มาทำเป็นขนม ซึ่งข้าวเหนียวถือเป็นอาหารหลักของชาวพื้นเมืองทางภาคเหนือ หลังจากแปรรูปแล้วจะมีลักษณะเหมือนรังแตน จึงถูกเรียกว่า ข้าว แต๋น นั่นเอง

ข้าวแต๋น

ข้าวแต๋น แจกสูตร น้ำแตงโมง่าย ๆ ไม่ต้องราดน้ำตาลเพิ่มก็อร่อยได้แบบลงตัว

อย่างที่ทราบกันว่าขนมชนิดนี้หาทานได้ง่ายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ภาคไหนของประเทศไทยก็มักจะพบเจอคนทำขาย เพราะเป็น ขนมไทย ง่ายๆ ที่มีขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อนและไม่ยุ่งยาก ใคร ๆ ก็สามารถทำทานเองได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจึงอยากนำเสนอสูตรการทำ ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ให้กับทุกคน เผื่อว่าใครอยากจะลองลงมือทำเองก็จะได้นำสูตรนี้ไปทำตามกัน มาดูกันว่าขั้นตอนการทำ ข้าวแต๋นมีอะไรบ้าง 

วัตถุดิบและส่วนผสม

  1. ข้าวเหนียวดำนึ่งสุก 1 กิโลกรัม
  2. ข้าวเหนียวขาวนึ่งสุก 1 กิโลกรัม
  3. เกลือ 1 ช้อนชา
  4. น้ำแตงโม 700 กรัม
  5. น้ำตาลอ้อย 100 กรัม
  6. กะทิ 100 กรัม
  7. งาขาว 50 กรัม
  8. งาดำ 50 กรัม
  9. ใบเตยหั่นท่อน 1 ถ้วย
  10. น้ำมันพืชสำหรับทอด 1 ลิตร

วิธีทํา ข้าวแต๋นน้ำแตงโม

  1. เมื่อปั่นแตงโมเสร็จแล้ว เทน้ำแตงโมลงในถ้วยผสม ใส่เกลือลงไป ตามด้วยน้ำตาลอ้อยและหัวกะทิ คนส่วนผสมให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
  2. นำข้าวเหนียวดำและข้าวเหนียวขาวที่นึ่งจนสุกแล้วใส่ลงในถ้วย จากนั้นเทน้ำแตงโมลงไปแล้วคนให้เข้ากันไปเรื่อย ๆ จนกว่าข้าวเหนียวจะดูดน้ำแตงโมเข้าไปจนแห้ง 
  3. เสร็จแล้วปิดฝาพักไว้ประมาณ 10-20 นาที เพื่อให้ข้าวเหนียวดูดซึมน้ำแตงโมได้อย่างเต็มที่ ขั้นตอนต่อมาเตรียมกระด้งสำหรับตากข้าวแต๋น โดยทาน้ำมันพืชลงบนกระด้งให้ทั่ว 
  4. เมื่อข้าวเหนียวดูดซึมน้ำแตงโมดีแล้วให้เตรียมขึ้นรูป โดยเริ่มจากนำพิมพ์ทอดไข่ทรงกลมไปจุ่มน้ำ จากนั้นวางพิมพ์ลงบนกระด้งและตักข้าวเหนียววางลงไป ใช้นิ้วกดให้อยู่ทรงแล้วนำพิมพ์ออก 
  5. ต่อมาทำลักษณะเดียวกันจนครบตามจำนวน เสร็จแล้วนำข้าวแต๋นไปตากแดดเป็นเวลา 1-2 วัน หรือตากจนแห้งสนิท หลังจากนั้นเตรียมนำมาทอด
  6. ขั้นตอนการทอดให้ตั้งกระทะแล้วเทน้ำมันลงไปเยอะ ๆ จากนั้นนำใบเตยลงไปทอดจนน้ำมันมีกลิ่นหอมใบเตย เสร็จแล้วตักใบเตยออกจากกระทะ 
  7. ต่อมานำข้าวแต๋นลงไปทอดในกระทะด้วยไฟกลาง เมื่อข้าวแต๋นลอยขึ้นแล้วให้พลิกกลับด้าน ทอดจนสุกกรอบแล้วตักขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน 

ข้าวแต๋นเคล็ด(ไม่)ลับทำกินเองง่าย ๆ แบบประหยัด ไม่ต้องซื้อก็ทำเองได้แบบชิล ๆ

หากใครที่ทานข้าวเหนียวไม่หมดก็สามารถนำมาทำเป็น ขนมไทย พื้นบ้านอย่างข้าวแต๋นได้เลย ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำก็สามารถนำมาทำได้ทั้งหมด สำหรับส่วนผสมบางอย่างอาจไม่ต้องใส่ก็ได้ อาทิ น้ำแตงโม งาขาวและงาดำ นอกจากนี้ในกรณีที่มีข้าวเหนียวไม่เยอะมากก็สามารถทำเป็น ข้าวแต๋นจิ๋ว ก็ได้ และถ้าหากต้องการเพิ่มความหวานก็สามารถเคี่ยวน้ำตาลแล้วราดบนข้าวแต๋น ได้เลย 

ไขข้อสงสัย ข้าวแต๋นและนางเล็ด ต่างกันอย่างไร ทำไมถึงมีลักษณะคล้ายกัน

หลายคนมักจะสงสัยว่า ข้าวแต๋นนางเล็ด เป็นขนมชนิดเดียวกันหรือไม่ หรือมีความแตกต่างกันอย่างไร จริง ๆ แล้วถ้าจะบอกว่าเหมือนกันก็เหมือน ต่างกันก็ต่าง สำหรับขนม ข้าว แต๋น เป็นชื่อขนมที่รู้จักกันในภาคเหนือ มักจะผสมน้ำหวานจากผลไม้ เพื่อให้ได้สีที่สวยงาม ดูน่ารับประทาน ส่วนขนมนางเล็ดจะเป็นชื่อที่คนภาคกลางและคนทั่วไปเรียกกัน แต่ตัวขนมจะไม่ได้ผสมกับน้ำผลไม้ อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าข้าวแต๋นและนางเล็ดเป็นขนมชนิดเดียวกัน ต่างกันที่ชื่อเรียกและสูตรการทำ

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

อ่านวิธีเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ติดตามได้ที่ lot-10

ขนมสาลี่ ผสมผสานกับแป้งนุ่มฟู รสชาติหวานอร่อยลงตัว

ขนมสาลี่ ผสมผสานกับแป้งนุ่มฟู รสชาติหวานอร่อยลงตัว

ขนมสาลี่หากพูดถึงของฝากชื่อดังจากจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นอกจากกาแฟถั่วดาวอินคา และข้าวไรซ์เบอร์รี่แล้ว ในส่วนของขนมหวานคงหนีไม่พ้น ขนม สาลี่ อย่างแน่นอน หากใครเคยเดินทางไปเที่ยวสุพรรณบุรีอยู่บ่อย ๆ คงจะทราบดีว่าขนมชนิดนี้เป็นของฝากที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ถือเป็นขนมไทยโบราณที่หาทานได้ไม่ง่ายนัก เพราะจะมีให้เห็นแค่บางพื้นที่ หากใครแวะไปเที่ยวสุพรรณบุรีก็จะมีโอกาสได้ทานแน่นอน แต่ถ้าใครแวะไปไม่ได้ วันนี้เราก็มีสูตรการทำขนมสาลี่มาฝากด้วย 

ในอดีตจะนิยมทาน ขนมสาลี่คู่กับน้ำแข็งไส หรือไอศกรีม เพราะสามารถเข้ากันได้ดี แต่ภายหลังได้ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นขนมทานเล่นโดยเฉพาะ หลายคนอาจสับสนว่าระหว่าง ถ้วย ฟู ปุยฝ้าย สาลี่ แตกต่างกันอย่างไร ต้องบอกว่าขนมถ้วยฟูจะมีเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่มคล้ายขนมตาล หน้าขนมแตกเป็นแฉกเล็กน้อย ส่วนขนมปุยฝ้ายจะมีเนื้อสัมผัสเนียนนุ่มคล้ายขนมเค้ก หน้าขนมแตกบานเป็นแฉก ในขณะที่ ขนมสาลี่จะมีเนื้อสัมผัสแน่น หน้าขนมไม่มีแฉก นิยมอบใส่ถาดและตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ ตกแต่งหน้าด้วยลูกเกด 

ขนมสาลี่

ขนมสาลี่แชร์สูตร มีกลิ่นหอมน่าทาน แป้งนุ่มฟูสวยงาม โรยหน้าด้วยลูกเกด

เมื่อทราบกันแล้วว่า ถ้วยฟู ปุยฝ้าย และสาลี่ แตกต่างกันอย่างไร เราหวังว่าต่อไปทุกคนจะสามารถแยกได้แบบไม่สับสน ถ้าหากเทียบขนมทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ต้องบอกว่าขนม สาลี่ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างอย่างชัดเจน เนื่องจากหน้าขนมจะไม่มีแฉกนั่นเอง สำหรับใครที่สนใจอยากจะลองทำทานเอง วันนี้เรามี สูตรขนม สาลี่ โบราณมานำเสนอด้วย บอกเลยว่าสูตรนี้ทำตามได้ไม่ยาก อาจไม่ใช่สูตรต้นตำรับดั้งเดิม แต่ถ้าทำออกมาแล้วรับรองว่าอร่อยไม่แพ้กันอย่างแน่นอน

วัตถุดิบและส่วนผสม

  1. แป้งเค้ก 120 กรัม
  2. ไข่ไก่ (เบอร์ 2) 3 ฟอง
  3. ผงฟู 1 ช้อนชา
  4. น้ำตาลทราย 130 กรัม
  5. เอสพี 10 กรัม
  6. กลิ่นมะลิ 1/2 ช้อนชา
  7. เกลือ 1/4 ช้อนชา
  8. น้ำเปล่า 70 กรัม
  9. สีผสมอาหาร
  10. ลูกเกด

วิธีการทำขนมสาลี่

  1. เริ่มต้นจากกรุกระดาษไขใส่ถาด จากนั้นมาเตรียมส่วนของแป้ง นำแป้งเค้กมาผสมกับผงฟูให้เข้ากัน และร่อนใส่ถ้วยเพื่อให้เนื้อแป้งฟูเบา เติมเกลือลงไปเล็กน้อยและคนผสมให้เข้ากัน เสร็จแล้วพักไว้
  2. นำน้ำตาลทราย ไข่ไก่ เอสพี และน้ำเปล่า มาใส่ในภาชนะ จากนั้นตีส่วนผสมให้เข้ากัน ใช้เครื่องตีแป้งด้วยความเร็วสูง 6 นาที
  3. เมื่อตีจนส่วนผสมฟูขึ้นมาแล้วให้ใส่กลิ่นมะลิลงไป จากนั้นลดความเร็วในการตีเป็นความเร็วต่ำสุด เสร็จแล้วทยอยใส่แป้งที่ร่อนไว้ลงไปจนหมด
  4. เมื่อแป้งและส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ใส่สีผสมอาหารลงไป รอจนสีผสมอาหารเข้ากันกับแป้งและส่วนผสมอื่น ๆ จากนั้นหยุดการใช้งานเครื่องตีแป้ง และนำไม้พายมาคนตะล่อม ๆ ให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
  5. เทส่วนผสมลงในถาดที่กรุด้วยกระดาษไข ขนาดของถาดที่เหมาะกับสูตรนี้ คือ 8×8 หรือ 9×9 นิ้ว หลังจากนั้นเกลี่ยส่วนผสมให้เรียบและเสมอกัน
  6. นำลูกเกดไปแช่น้ำร้อนให้นิ่มประมาณ 15-20 นาที หลังจากนั้นนำมาตกแต่งหน้าขนม โดยวางลูกเกดลงไปและเว้นระยะห่างแต่ละชิ้นให้เท่า ๆ กัน
  7. ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดและนำขนมลงไปนึ่งด้วยไฟกลางประมาณ 12-15 นาที หลังจากนึ่งจนครบตามเวลาที่กำหนด หากเปิดฝาออกมาแล้วพบว่าลูกเกดที่ใส่ลงไปจมลงไปในแป้ง 
  8. สามารถนำลูกเกดมาตกแต่งหน้าเพิ่มอีกครั้งได้ เพียงเท่านี้ก็จะได้ขนมสาลี่พร้อมทาน สามารถใช้มีดตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ ได้เลย 

ขนมสาลี่ แนะนำวิธีทำ สูตรโบราณตามต้นตำรับดั้งเดิม

สูตรที่เราแนะนำไปข้างต้นจะไม่ใช่สูตรต้นตำรับเหมือนในอดีต เนื่องจากวัตถุดิบบางอย่างหาได้ค่อนข้างยาก และวิธีการทำถูกดัดแปลงไปตามยุคสมัยและความสะดวก สำหรับใครที่สนใจ วิธีทำขนมสาลี่ แบบต้นตำรับดั้งเดิม แนะนำให้เปลี่ยนจากกลิ่นมะลิเป็นกลิ่นนมแมว และใช้ไข่เป็ดแทนไข่ไก่ นอกจากนี้ ขนมสาลี่โบราณจะไม่ใส่เอสพีด้วย แต่ถ้าหากต้องการเนื้อสัมผัสนุ่มฟูก็สามารถใส่ได้ หากใครต้องการ ขนมสาลี่ไหว้เจ้า ก็สามารถนำสูตรนี้ไปทำตามกันได้เลย 

สาลี่ จากขนมไทยโบราณ กลายมาเป็นของฝากขึ้นชื่อจากสุพรรณบุรี 

สาลี ถือเป็นขนมท้องถิ่นของเมืองสุพรรณ ซึ่งถูกคิดค้นในปี พ.ศ. 2485 โดยคุณแม่บ๊วย แซ่ตั้ง และเตี่ยกิม แซ่ตั้ง ในอดีตทั้งสองท่านได้เปิดร้านขายขนมในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี สำหรับที่มาของชื่อขนมนั้นสันนิษฐานว่าอาจเพี้ยนมาจากคำว่าสาลี ชื่อตำบลในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี หรืออาจมาจากการใช้แป้งสาลีในการทำช่วงแรก ๆ ก็ได้ แม้ว่าจะเป็นขนมโบราณ แต่ในปัจจุบัน ขนมสาลี่กลายเป็นของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดสุพรรณบุรีไปแล้ว

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

อ่านวิธีเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ติดตามได้ที่ lot-10

ขนมเปี๊ยะ ถั่วไข่เค็ม ขนมไทยแป้งนุ่ม รสหวานมันอร่อย

ขนมเปี๊ยะ ถั่วไข่เค็ม ขนมไทยแป้งนุ่ม รสหวานมันอร่อย

ขนมเปี๊ยะ หากกล่าวถึงขนมมงคลที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นอกจากทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดาราทอง เม็ดขนุน ปุยฝ้าย ถ้วยฟู และขนมชั้น ยังมีขนมประเภทอื่น ๆ อีกที่ถือเป็นขนมมงคล ซึ่งรายชื่อขนมที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนเป็นขนมไทย แต่ถ้าหากพูดถึงขนมไทยที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เชื่อว่าหลายคนจะนึกถึงขนมเปี๊ยะ โดยเฉพาะ ขนมเปี๊ยะ ถั่วไข่เค็ม ในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก 

ขนมเปี๊ยะ ถือเป็นขนมชนิดหนึ่งที่คนไทยหลายคนชื่นชอบ เพราะมีไส้ต่าง ๆ ให้เลือกทาน รสชาติก็หวานมันอร่อย บางคนอาจเข้าใจว่าขนมชนิดนี้เป็น ขนมไทย แท้จริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ภายหลังได้พัฒนาสูตรขนมเปี๊ยะให้มีความพิถีพิถันมากขึ้น จนกลายเป็น สูตรเปี๊ยะโบราณ แบบชาววัง ซึ่งมีหน้าตาสวยงาม มาพร้อมกลิ่นหอมหวานชวนรับประทาน นอกจาก ขนมเปี๊ยะถั่วไข่เค็ม แล้วยังมีไส้ต่าง ๆ อีกมากมาย 

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ แจกสูตร แป้งยืดนุ่ม รสหวานมัน เคี้ยวแล้วเพลิน

หากจะกล่าวว่าขนมเปี๊ยะเป็นขนมชนิดหนึ่งที่ต้องทำด้วยกันหลายขั้นตอนก็คงจะไม่ผิดนัก โดยเฉพาะ สูตรเปี๊ยะแป้งสด จะต้องใช้เวลาทำอย่างละเอียด สำหรับใครที่ชอบทาน ขนมเปี๊ยะถั่วไข่เค็ม เรามีสูตรการทำพร้อมเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาแนะนำด้วย บอกเลยว่าสูตรขนมเปี๊ยะ ถั่วไข่เค็ม ที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นสูตรที่ทุกคนสามารถทำเองได้ มาดูกันว่า สูตรเปี๊ยะไส้ถั่วเค็ม นี้มีขั้นตอนอะไรบ้าง 

ส่วนผสมไส้ถั่วกวน

  1. ถั่วเขียวเลาะเปลือก 200 กรัม
  2. ไข่แดงเค็ม 8 ฟอง
  3. น้ำตาลทราย 200 กรัม
  4. กะทิ 400 กรัม
  5. เนยจืด 1 ช้อนโต๊ะ
  6. เกลือ 1/4 ช้อนชา

ส่วนผสมแป้งชั้นนอก

  1. แป้งสาลีอเนกประสงค์ ตราดาวฟ้า 200 กรัม
  2. แป้งเค้ก ตราพัดโบก 200 กรัม
  3. น้ำตาลทราย 100 กรัม
  4. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  5. น้ำเปล่า 100 มิลลิลิตร
  6. น้ำมันถั่วเหลือง 125 มิลลิลิตร

ส่วนผสมแป้งชั้นใน

  1. แป้งสาลีอเนกประสงค์ ตราดาวฟ้า 100 กรัม
  2. แป้งเค้ก ตราพัดโบก 100 กรัม
  3. น้ำมันถั่วเหลือง 85 มิลลิลิตร

ส่วนผสมทาหน้าขนม

  1. ไข่แดง 1 ฟอง
  2. นมสด 2 ช้อนโต๊ะ 

วิธีทำขนม เปี๊ยะ ถั่วไข่เค็ม ฉบับเร่งด่วน

  1. เริ่มจากนำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาแช่น้ำข้ามคืน นำมาล้างน้ำให้สะอาด 2-3 ครั้ง เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นเขียว เสร็จแล้วพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ นำถั่วเขียวเลาะเปลือกที่สะเด็ดน้ำแล้วมานึ่งประมาณ 20 นาที
  2. เตรียมทำแป้งชั้นนอก นำแป้งสาลีอเนกประสงค์และแป้งเค้กมาร่อนให้ละเอียด เติมน้ำตาลทรายลงไป ตามด้วยไข่ไก่ที่ตีจนแตกแล้ว คนให้เข้ากัน เติมน้ำเปล่าลงไปทีละนิด
  3. ใช้มือนวดให้แป้งและส่วนผสมทั้งหมดเป็นเนื้อเดียวกัน ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้เนื้อแป้งเนียนมากขึ้น จากนั้นนำแป้งใส่ในภาชนะและปิดฝา พักไว้ 2 ชั่วโมง
  4. เตรียมทำแป้งชั้นใน วิธีการทำคล้ายกับการทำแป้งชั้นนอกเลย เสร็จแล้วนำใส่ในภาชนะและปิดฝา พักไว้ 2 ชั่วโมง
  5. นำถั่วเขียวที่นึ่งจนสุกแล้วมาใส่ลงในเครื่องปั่น ตามด้วยกะทิ ปั่นให้ละเอียดและเนื้อเนียน เสร็จแล้วเทใส่กระทะ กวนด้วยไฟอ่อน เมื่อกวนจนไส้แห้งแล้วให้เติมน้ำตาลทรายและเกลือลงไป จากนั้นกวนต่อไปเรื่อย ๆ จนไส้แห้ง
  6. เมื่อไส้แห้งแล้ว เติมเนยสดชนิดจืดลงไป กวนต่อไปเรื่อย ๆ จนไส้แห้งและไม่ติดกระทะ พักไว้ให้เย็น นำไข่แดงเค็มไปอบในเตาด้วยอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส อบเป็นเวลา 10 นาที
  7. ในระหว่างรอไข่แดงเค็มสุก นำไส้ถั่วกวนมาปั้นเป็นวงกลม เมื่ออบไข่แดงเค็มจนสุกแล้ว นำออกจากเตาและพักไว้ให้เย็น ผ่าไข่แดงออกเป็น 4 ส่วน นำไส้ที่ปั้นแผ่ออกให้แบน ใส่ไข่แดงเค็มลงไปตรงกลาง ห่อให้เป็นทรงกลม
  8. นำแป้งชั้นในมาตัดแบ่งเป็นก้อน ปั้นแป้งให้เป็นทรงกลม แล้วนำแป้งชั้นนอกมาห่อแป้งชั้นในและปั้นเป็นทรงกลม ทำจนครบจำนวนแล้วนำไปวางเรียงในถาดที่รองด้วยกระดาษไข่
  9. ขั้นตอนการอบ ให้อบที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส อบรอบแรก 10 นาที ระหว่างรออบขนมเปี๊ยะ ให้นำไข่แดงมาผสมกับนมสด เพื่อใช้ในการทาหน้าขนมเปี๊ยะให้มีสีเหลืองนวลสวยงามน่ารับประทาน 

ขนมเปี๊ยะเทคนิคการพักแป้ง หลังจากการนวดเสร็จ

ขนมเปี๊ยะเป็นหนึ่งใน ของหวานไทย ที่หาทานได้ง่าย และเป็น ขนมไทย ง่ายๆ ที่ทำได้ไม่ยาก แต่ทว่าขนมเปี๊ยะแต่ละสูตรจะมีวิธีการทำแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะนิยมทำ สูตรเปี๊ยะแป้งบางนุ่ม มาพร้อมกับไส้ต่าง ๆ ที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ฉะนั้นขั้นตอนการนวดแป้งจึงมีความสำคัญ สำหรับใครที่จะทำขนมเปี๊ยะ ถั่วไข่เค็ม หลังจากนวดแป้งเสร็จทุกครั้งควรพักแป้งด้วยการหุ้มพลาสติก หรือใส่ในภาชนะแล้วปิดฝาไว้ เพื่อไม่ให้แป้งถูกลมจนแปลงสภาพ 

ขนมเปี๊ยะ ถั่วไข่เค็ม แป้งนุ่มละมุนลิ้น รสหวานมัน มีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสพร้อมให้ลิ้มลอง

เมนูของหวานไทย มักจะใช้แป้งเป็นส่วนประกอบหลัก เพราะแป้งจะช่วยสร้างเทกเจอร์ให้กับเนื้อขนม จึงต้องมีการผสมแป้งหลายชนิดเข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับ เปี๊ยะถั่วไข่เค็ม เรียกว่าเป็นขนมที่ขึ้นชื่อเรื่องเนื้อสัมผัสเนียนนุ่ม ส่วนไส้ถั่วไข่เค็มก็จะช่วยตัดเลี่ยนได้ดี โดยรวมแล้วเมื่อทานคู่กันก็จะอร่อยลงตัวสุด ๆ แน่นอนว่าในปัจจุบัน ขนมเปี๊ยะถั่วไข่เค็ม หาทานได้ง่ายมาก ๆ ถึงแม้ว่าจะเป็น ขนมไทยโบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ก็มักจะถูกใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ จึงมักจะหาทานได้ง่าย

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

อ่านวิธีเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ติดตามได้ที่ lot-10

หมี่กรอบสามรส ของกินเล่นจากเส้นหมี่ รสหวานนำ เคี้ยวแล้วมีทั้งความกรอบและเหนียวนุ่ม

หมี่กรอบสามรส ของกินเล่นจากเส้นหมี่ รสหวานนำ เคี้ยวแล้วมีทั้งความกรอบและเหนียวนุ่ม

หมี่กรอบสามรสเส้นหมี่ถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่คนไทยนิยมนำมาประกอบเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ นอกจากเมนูของคาวแล้ว ยังมีเมนูของกินเล่นอย่าง หมี่กรอบ สามรส ที่ได้รับความนิยม ซึ่งเป็นของกินเล่นที่หาทานได้ทั่วไป ส่วนมากจะพบได้ตามร้านอาหารและร้านขายขนม อย่างไรก็ตามหากคุณกำลังมองหาของกินเล่นง่าย ๆ ทำเองได้ไม่ยาก สามารถทำเมนูหมี่กรอบสามรสกันได้เลย ทำความรู้จัก หมี่กรอบ สามรส เมนูของว่างที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ทำทานง่าย ทำขายได้ด้วย

หมี่ กรอบ เป็นของกินเล่น หรือจะเรียกว่าเป็นขนมชนิดหนึ่งก็ได้ เพราะเป็นอาหารที่ทานได้ทุกมื้อ ซึ่งจะเน้นปรุงให้มีรสหวาน และสามารถตัดเลี่ยนได้ด้วยการเพิ่มรสเปรี้ยวจากมะนาว สำหรับสูตร หมี่กรอบโบราณ อาจจะมีวิธีทำแตกต่างจากหมี่กรอบในปัจจุบันอยู่บ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม หมี่กรอบสามรสจะมีทั้งรสหวาน เผ็ดและเปรี้ยว เรียกได้ว่ามีสามรสสมชื่อเลยทีเดียว 

หมี่กรอบสามรส

หมี่กรอบสามรสแชร์สูตร อาหารทานเล่นง่าย ๆ สไตล์ไทย ใครทำก็อร่อย

หากคุณนึกไม่ออกว่าจะทำเมนูของกินเล่น หรือ ขนมไทย ง่ายๆ เมนูไหนดี เราขอนำเสนอเมนูหมี่กรอบ ถือเป็นเมนูของกินเล่นยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็รู้จัก เพราะหาทานได้ง่าย หลายคนนิยมทำขายเป็นของฝาก ซึ่งวันนี้เรามี สูตรหมี่กรอบ ทำขาย มาฝากด้วย และสำหรับใครที่อยากทานหมี่กรอบ สามรส ฝีมือตัวเอง สามารถทำตามสูตรที่เราจะแนะนำต่อไปนี้ได้เลย มาดูกันว่าวัตถุดิบและส่วนผสมของเมนู หมี่กรอบมะขามเปียก มีอะไรบ้าง 

วัตถุดิบและส่วนผสม

  1. เส้นหมี่อบแห้ง 180 กรัม
  2. น้ำตาลปี๊บ 200 กรัม
  3. น้ำตาลทราย 100 กรัม
  4. หอมแดงซอย 50 กรัม
  5. น้ำปลา 50 กรัม
  6. น้ำมะขามเปียก 50 กรัม
  7. ซอสพริก 50 กรัม
  8. น้ำมะนาวคั้นสด 2 ช้อนโต๊ะ
  9. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
  10. สีผสมอาหารชนิดผง สีส้มแดง 1/4 ช้อนชา
  11. น้ำมันสำหรับทอดเส้นหมี่อบแห้ง 

วิธีการทำหมี่กรอบ สามรส

  1. ขั้นตอนแรกฉีกเส้นหมี่ออกจากกันให้เป็นเส้นบาง ๆ เพื่อที่เวลาทอดจะได้สุกกรอบอย่างทั่วถึง ตั้งกระทะแล้วใส่น้ำมันลงไปเยอะ ๆ เปิดไฟกลาง 
  2. เมื่อน้ำมันร้อนได้ที่แล้วนำเส้นหมี่ลงไปทอดจนพองตัว เสร็จแล้วตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน พักไว้ เตรียมทำซอสแดง เริ่มจากตั้งกระทะแล้วใส่น้ำมันลงไป 2 ช้อนโต๊ะ เปิดไฟอ่อน 
  3. เมื่อน้ำมันร้อนแล้วใส่หอมแดงซอยลงไปเจียวจนสุกเหลือง จากนั้นใส่น้ำมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บลงไป เคี่ยวให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน
  4. เมื่อเคี่ยวส่วนผสมจนมีฟองขึ้นมาแล้ว ใส่ซอสพริกลงไปและเคี่ยวต่อจนเหนียวได้ที่ ใส่สีผสมอาหารและน้ำมะนาวคั้นสด คนให้เข้ากันเรื่อย ๆ เสร็จแล้วนำเส้นหมี่ที่ทอดไว้ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากับซอสแดงจนทั่วและปิดไฟ 

หมี่กรอบสามรส เคล็ดลับทำให้กรอบฟู ไม่แข็ง ไม่อมน้ำมัน

วิธีทำหมี่กรอบ ให้กรอบนาน และไม่อมน้ำมัน สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ฉีกเส้นหมี่ออกจากกันให้เป็นเส้นบาง ๆ เมื่อนำไปทอดจะทำให้สุกง่ายและใช้เวลาทอดไม่นาน ทำให้ หมี่กรอบสามรสกรอบฟูแบบไม่อมน้ำมัน นอกจากนี้ควรทอดด้วยไฟกลางถึงไฟแรง เมื่อน้ำมันร้อนจัดจึงค่อยนำเส้นหมี่ลงไปทอด และเมื่อทอดจนเส้นพองตัวแล้วให้ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมันทันที โดยเทคนิคนี้สามารถใช้กับสูตร หมี่กรอบทรงเครื่องโบราณ ได้ด้วย เรียกว่าเป็นเมนู ขนมไทยโบราณ ที่มีขั้นตอนการทำไม่ยากเลย 

หมี่กรอบสามรสของว่างยอดฮิตติดใจใครหลายคน กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

หลังจากได้ทราบวิธีทำหมี่กรอบไปแล้ว เราหวังว่าทุกคนจะสามารถนำสูตรที่เราแนะนำไปทำตามกันได้ บอกเลยว่า ขนมไทย ชนิดนี้ทำได้ไม่ยากเลย เพราะถือเป็นอาหารประเภททอดที่ไม่ได้มีขั้นตอนการทำซับซ้อนแต่อย่างใด หากใครกำลังมองหาเมนู ของว่าง ทานเล่นในระหว่างวันที่ทำได้ง่าย ๆ ต้องบอกว่า หมี่กรอบสามรสก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

อ่านวิธีเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ติดตามได้ที่ lot-10

ข้าวหลาม อาหารสะท้อนภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองในอดีต

ข้าวหลาม อาหารสะท้อนภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองในอดีต

ข้าวหลามหากพูดถึงอาหารที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ เราเชื่ออย่างยิ่งว่าหลายคนจะต้องนึกถึงเมนู ข้าวหลามเพราะเป็นอาหารพื้นบ้านที่ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าหลายคนจะหาวิธีทำแบบอื่นที่ไม่ต้องพึ่งพากระบอกไม้ไผ่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้าวหลามจากกระบอกไม้ไผ่นั้นคือที่สุดของความอร่อย เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่น่าอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างมาก

ต้องบอกว่าประวัติความเป็นมาของ ข้าว หลาม นั้นค่อนข้างซับซ้อนจนทำให้ไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าต้นกำเนิดของอาหารชนิดนี้มาจากที่ใด แต่ก็มีการสันนิษฐานว่าข้าวหลาม เป็นขนมที่มาจากวัฒนธรรมของคนไทยทางภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งจะนิยมทานข้าวเหนียวเป็นหลัก นอกจากนี้คนสมัยก่อนยังนิยมหุงข้าวในกระบอกไม้ไผ่อยู่แล้วด้วย จึงไม่แปลกที่วันหนึ่งจะมีเมนูขนมที่ทำจากข้าวและหุงในกระบอกไม้ไผ่ เรียกได้ว่าเป็น สูตรขนมไทย ที่มีกรรมวิธีแตกต่างจากขนมทั่วไปอย่างสิ้นเชิง

ข้าวหลาม

ข้าวหลาม แจกสูตรโบราณ สูตรการทำแบบดั้งเดิม

สำหรับใครที่อยากลองทำ ขนมไทยโบราณ แบบวิถีพื้นบ้านดั้งเดิม ขนมที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ก็น่าจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับขนมชนิดอื่น ๆ วิธี ทําข้าวหลาม แบบดั้งเดิมนั้นจะมีความแตกต่างจากการทำขนมในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ขั้นตอนการทำอาจจะดูยุ่งยาก แต่ถ้าหากใครพร้อมที่จะทำเมนู ข้าวหลามสูตรโบราณ มาดูกันว่าจะมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง

วัตถุดิบและส่วนผสม

1.ข้าวเหนียมใหม่ (แช่น้ำทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมง) 2 กิโลกรัมใน

2.ถั่วดำต้มสุก 500 กรัมกะทิ 1.5 กิโลกรัม

3.น้ำตาลทราย 600 กรัม

4.เกลือป่น 1.5 ช้อนโต๊ะ

วัสดุทำข้าวหลาม

  1. ไม้ไผ่กาบแดง/ไม้ไผ่ป่า
  2. ใบตองสำหรับปิดปากกระบอกข้าวหลาม

วิธีทําข้าวหลาม

  1. ขั้นตอนแรกนำข้าวเหนียวใหม่ที่แช่น้ำ 4-5 ชั่วโมง ขึ้นสะเด็ดน้ำ พักไว้ เตรียมทำกะทิผสมข้าวหลาม เริ่มจากเทกะทิลงในชามผสม จากนั้นใส่น้ำตาลทรายและเกลือลงไป คนให้เข้ากันจนส่วนผสมละลาย
  2. นำใบเตยมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นตัดไม้ไผ่เป็นทรงกระบอก เช็ดทำความสะอาด เตรียมไว้ นำถั่วดำต้มสุกมาผสมกับข้าวเหนียวที่แช่ไว้จนสะเด็ดน้ำ โดยคลุกเคล้าให้เข้ากันดี
  3. จากนั้นกรอกข้าวเหนียวถั่วดำลงในกระบอกไม้ไผ่ กรอกให้ได้ 3/4 ของกระบอกไม้ไผ่ ต่อมาเทน้ำกะทิลงไปให้ท่วมข้าวเล็กน้อย เสร็จแล้วพับใบตองแล้วนำมาปิดปากกระบอกไม้ไผ่ให้สนิท
  4. ขั้นตอนการเผาให้ขุดดินเป็นร่องแล้วนำกระบอกข้าวหลามไปวางเรียงกันเป็นแนวตั้ง กลบดินเล็กน้อยเพื่อให้กระบอกข้าวหลามไม่ล้ม ไม่ต้องเอากระบอกข้าวหลามลงลึกมากและไม่ต้องกลบดินเยอะ จะทำให้ข้าวไม่สุก
  5. จากนั้นนำฟืนหรือแกนข้าวโพดวางไว้รอบ ๆ กระบอกข้าวหลาม โดยเว้นระยะห่างไว้ประมาณ 20-30 เซนติเมตร เสร็จแล้วจุดไฟและเผาจนกว่าข้าวหลามจะสุก
  6. เผากระบอกข้าวหลามจนไฟมอด หากต้องการให้ข้าวหลามแห้งขึ้นก็สามารถเผาต่ออีกสักระยะ เสร็จแล้วนำออกมาพักไว้ให้เย็น หลังจากนั้นหากต้องการรับประทานให้ผ่าก้นกระบอกไม้ไผ่แล้วค่อย ๆ ดึงออก

ข้าวหลามทำทานเองได้แบบวิถีพื้นบ้าน เสน่ห์ของขนมไทยสะท้อนถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่น

วิธี ทําข้าวหลาม ให้ อร่อย คือการให้ความสำคัญกับทุก ๆ ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการใส่ส่วนผสม หรือการทำให้ข้าวสุก ล้วนมีความสำคัญที่ต้องจัดการให้ดี สำหรับการเผาหรือทำให้ข้าวหลาม สุกอย่างทั่วถึง เราจะต้องวางกระบอกไม้ไผ่ให้เหมาะสม โดยขุดร่องพอประมาณ ไม่ต้องลึกมาก จากนั้นนำกระบอกไม้ไผ่วางลงไปและใช้ดินกลบเล็กน้อย โดยที่ก้นของกระบอกไม้ไผ่จะต้องไม่จมดิน จะเห็นได้ว่า เมนูขนมไทย ชนิดนี้มีรายละเอียดเยอะไม่ต่างจากขนมโบราณทั่วไปเลย

เทคนิคการเผากระบอกไม้ไผ่ให้ ข้าวหลามสุกอย่างทั่วถึง และมีกลิ่นหอมน่าทาน

เมื่อกล่าวถึง เมนูขนมไทยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเมนูใดก็ตาม มักจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องทำอย่างประณีต นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของขนม โดยเฉพาะ ขนมไทย มักจะต้องมีหน้าตาสวยงามด้วย เพื่อดึงดูดให้คนอยากรับประทาน และถึงแม้ว่าขนมบางชนิดจะไม่ได้มีหน้าตาที่สวยงามมากนัก แต่ถ้าหากมีลูกเล่นก็จะทำให้คนสนใจได้ เช่นเดียวกับข้าวหลาม ถือเป็นขนมไทยสุดคลาสสิคที่มาพร้อมกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งเป็นไอเดียที่น่าสนใจมาก

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

อ่านวิธีเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ติดตามได้ที่ lot-10